จ้างทำของ/ขายสินค้า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีค่าบริการซ่อมและค่าอะไหล่
    • Dark
      Light

    จ้างทำของ/ขายสินค้า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีค่าบริการซ่อมและค่าอะไหล่

    • Dark
      Light

    Article Summary

    เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีค่าบริการซ่อมและค่าอะไหล่


    ข้อเท็จจริง

    บริษัทฯ ประกอบธุรกิจนำเข้าเพื่อจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร

    เครื่องโทรสารเครื่องพิมพ์ ฯลฯ เมื่ออุปกรณ์สำนักงานที่จำหน่ายขัดข้องลูกค้าจะโทรแจ้งบริษัทฯ ให้ส่ง

    ช่างไปซ่อม โดยบริษัทฯ จะคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมเป็น 2 กรณี คือ

    1. กรณีที่ซ่อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับชำระ

    ค่าบริการซ่อมโดยคิดค่าบริการซ่อมครั้งละ 550 บาท

    2. กรณีที่ซ่อมโดยต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีแยกเป็น 2 ใบ ดังนี้

    2.1 ใบกำกับภาษีสำหรับค่าบริการซ่อมครั้งละ 550 บาท

    2.2 ใบกำกับภาษีสำหรับค่าอะไหล่ ออกให้เมื่อส่งมอบอะไหล่ให้แก่ ลูกค้า มิใช่เมื่อ

    ซ่อมเสร็จหรือเมื่อได้รับชำระค่าอะไหล่

    จึงขอทราบว่า บริษัทฯ ได้รับชำระค่าบริการซ่อมและได้รับชำระค่าอะไหล่ตามข้อเท็จจริง

    ดังกล่าวบริษัทฯ ควรจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    มาตรา 3 เตรส, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530

    แนววินิจฉัย

    กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว รายรับที่ได้จากการให้บริการ ไม่ว่าจะคิดค่าบริการซ่อมเป็น

    การเหมาหรือแยกค่าบริการเป็นค่าบริการซ่อมและค่าอะไหล่ การประกอบกิจการดังกล่าวถือเป็นการ

    ให้บริการรับจ้างซ่อมทั้งหมด หากผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายมี

    หน้าที่หักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ที่จ่าย ตามข้อ 8 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร

    ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก

    ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่

    ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530




    ที่มา:

    หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/พ.04900 ลงวันที่ 27 เมษายน 2541