ยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อ
    • Dark
      Light

    ยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อ

    • Dark
      Light

    Article Summary

    เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อ


    ข้อเท็จจริง

    บริษัทฯ มีหนังสือหารือสำนักงานสรรพากรจังหวัด เรื่อง การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทน

    ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้

    1. บริษัทฯ มีนโยบายใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งเมื่อลูกค้า

    ต้องการเปลี่ยนจากใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป บริษัทฯ จะออก

    ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้โดยใช้โปรแกรมในคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนในการขอออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

    มีดังนี้

    - ลูกค้านำใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนบริษัทฯ

    - พนักงานตรวจสอบว่าเป็นใบกำกับภาษีของบริษัทฯ หรือไม่ และวันที่ใน ใบกำกับภาษีเป็น

    วันที่ปัจจุบันหรือไม่

    - พนักงานเรียกข้อมูล โดยเรียกเลขที่ตามใบกำกับภาษีอย่างย่อเดิมที่ลูกค้านำมาคืน และขอ

    ชื่อที่อยู่ของลูกค้า เพื่อบันทึกข้อมูลชื่อที่อยู่และพิมพ์ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ลูกค้าโดยเลขที่

    ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะตรงกับเลขที่ใบกำกับภาษีอย่างย่อในรายงานภาษีขายที่ออกเมื่อสิ้นวันจะมีเลขที่

    ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ออกใหม่ให้ลูกค้าและในช่องหมายเหตุจะมีคำว่า "ออกแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อ

    เลขที่ ..." บริษัทฯ ขอทราบว่า กรณีออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปมีเลขที่ตรงกับใบกำกับภาษีอย่างย่อซึ่ง

    ทำให้เลขที่ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไม่เรียงตามลำดับถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

    2. สำนักงานสรรพากรจังหวัดเห็นว่า การออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ

    ให้บริการทุกครั้ง ต้องออกให้ในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่ง

    ประมวลรัษฎากร สำหรับการเปลี่ยนใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องกระทำทันทีใน

    ขณะที่ออกใบกำกับภาษีและยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับที่ออกไปแล้วโดยกลัดติดไว้ในสำเนาเครื่อง

    ออกใบเสร็จรับเงิน การที่บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วจะเปลี่ยนเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปใน

    ภายหลังไม่อาจทำได้ เนื่องจากจะเป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 86 แห่ง

    ประมวลรัษฎากร

    3. สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทน

    ใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ เนื่องจากไม่มีกำหนดเวลากรณีการยกเลิกและออกใบแทนใบกำกับภาษีแต่บริษัทฯ

    ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

    (1) บริษัทฯ ต้องเรียกใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนและประทับตราว่ายกเลิกหรือขีดฆ่าและ

    เก็บรวบรวมไว้กับสำเนาเครื่องออกใบเสร็จรับเงินและให้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้ตรงวันเดือนปีใน

    ใบกำกับภาษีอย่างย่อพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ของลูกค้าและหมายเหตุในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปว่า "เป็นการ

    ยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อและออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนเลขที่....เล่มที่...."

    (2) บริษัทฯ ต้องหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อไว้ในรายงานภาษีขายประจำ

    เดือนที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนด้วยว่า "ใบกำกับภาษีเล่มที่....เลขที่....เป็นการออกแทน

    ใบกำกับภาษีอย่างย่อเลขที่....วันที่......"

    (3) ลูกค้าผู้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องส่งมอบ

    ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืนให้แก่บริษัทฯ โดยจะต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีอย่างย่อแนบกับ

    ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเก็บไว้ ณ สถานประกอบการของลูกค้าด้วย

    (4) การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องออกเรียงตามลำดับที่ได้ออกไปก่อนหน้าแล้ว

    จะนำเลขที่วันที่ในใบกำกับภาษีอย่างย่อมาออกในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไม่ได้


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    มาตรา 86/6, มาตรา 86/4, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542, มาตรา 86/5

    แนววินิจฉัย

    กรณีบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อ

    สินค้าหรือผู้รับบริการไปแล้ว ต่อมาผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องการเปลี่ยนเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

    ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น บริษัทฯ มีสิทธิยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับเดิมและ

    ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้เนื่องจาก ไม่มีกฎหมายใดห้าม

    ผู้ประกอบการจดทะเบียนยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อฉบับเดิมแล้วออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแทนแต่

    อย่างใด ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ข้อ 25 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การ

    จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบ

    เต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้โดยอนุโลม




    ที่มา:

    หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/พ.9254 ลงวันที่ 20 กันยายน 2544